วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

code facebook

<div id="fb-root"></div>
<script>(function(d, s, id) {
  var js, fjs = d.getElementsByTagName(s)[0];
  if (d.getElementById(id)) return;
  js = d.createElement(s); js.id = id;
  js.src = "//connect.facebook.net/th_TH/all.js#xfbml=1&appId=162817937165725";
  fjs.parentNode.insertBefore(js, fjs);
}(document, 'script', 'facebook-jssdk'));</script>
<div class="fb-comments" data-href="http://mediath2.blogspot.com/" data-num-posts="20" data-width="650"></div>

วิธีดู ID : https://developers.facebook.com/tools/explorer/

นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข”

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน"

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว
เราก็เห็นใจครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

3.รายชื่อบล็อก

ขอความกรุณาแจ้งรายชื่อบล็อก (แสดงเป็น URL ตามตัวอย่าง)

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้





ในการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขึ้นใช้เองโดยครูผู้สอนนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะครู ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ถึงความยากง่าย ความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การที่จะผลิตสื่อ ให้มีประสิทธิภาพ ต่อการเรียนรู้นั้นจะต้องมีกระบวนการผลิตที่มีขั้นตอนและมีระบบ เพื่อให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่าต่อการศึกษาสูงสุด ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรพิจารณาปัจจัยเพื่อการผลิตและพัฒนาสื่อดังต่อไปนี้


ปัจจัยทางด้านเนื้อหา

  1. สาระเนื้อหามีความซับซ้อน ผู้เรียนมีความเข้าใจแตกต่างกัน
  2. สาระเนื้อหาไม่สามารถอธิบายให้เกิดรูปธรรมได้
  3. สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลานาน
  4. สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลารวดเร็วเกินไป
  5. สาระเนื้อหาวิชานั้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนที่ผู้เรียนเมื่อเรียนรู้แล้ว มีความสามารถอะไรบ้าง


ปัจจัยทางด้านการผลิต

  1. เลือกประเภทหรือรูปแบบของสื่อที่จะผลิต : อาทิ ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิดีทัศน์
  2. ความพร้อมด้านสาระเนื้อหา
  3. ความพร้อมด้านเครื่องมือ และเทคโนโลยี
  4. ความพร้อมด้านผู้ผลิต/พัฒนา : อาทิ ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ นักวัดผล ช่างเทคนิค
  5. ความพร้อมด้านแผนการผลิต : ความเหมาะสมต่อวัยของการเรียนรู้ ลำดับขั้นตอนการสร้าง กระบวนการถ่ายทอดเนื้อหา การตรึงพฤติกรรม กิจกรรมการเรียนรู้
  6. ความพร้อมด้านงบประมาณ


ปัจจัยด้านการนำไปใช้งาน

  1. ความพร้อมของเครื่องมือ และเทคโนโลยีในการเรียนรู้
    อุปกรณ์ เครื่องมือที่นำมาใช้ประกอบการเรียนรู้
  2. ความพร้อมของสภาพแวดล้อม
    เสียง แสง
  3. ความพร้อมของผู้เรียนและครูผู้สอน


ปัจจัยทางด้านการเรียนรู้

  1. ลักษณะเฉพาะการเรียนรู้ของตัวสื่อ
    เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือควบคุมพฤติกรรม/ลำดับเนื้อหาโดยครูผู้สอน
  2. วิธีการใช้งาน
    ความ ยาก ง่าย การใช้ประกอบกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นของการใช้สื่อ
  3. กระบวนการเรียนรู้ การเข้าถึงและการถ่ายทอดเนื้อหา
  4. การซึมซับความรู้
  5. การตรึงพฤติกรรมต่อการเรียนรู้
นอกจากนี้ ครูผู้สอนควรจะได้ประเมินการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ว่า มีข้อบกพร่อง หรือส่วนใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อใจได้ดำเนินการวางแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป

ความรู้เบื้องต้นการนำเสนองาน


การนำเสนอเป็นหนึ่งในทักษะที่ครูในทุกสถานศึกษาควรต้องมี เพราะการนำเสนอเป็นศาสตร์และศิลป์สำหรับใช้ในการสอนหรือการถ่ายทอดเรื่องราวสู่ผู้เรียน หรือในการนำเสนอผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ ต่อกลุ่ม ต่อเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชา การนำเสนอที่ดีจึงต้องคำนึงถึงการเลือกรูปแบบ วิธีการและขั้นตอนของการนำเสนอให้เหมาะสม  นอกจากนี้ตัวตนของผู้นำเสนอก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ ที่จะนำกระบวนการนำเสนอไปสู่ความสำเร็จ  ซึ่งต้องใช้เทคนิค วิธีการ ของการเป็นผู้พูด ผู้บรรยาย หรือผู้สรุปงานที่ดี เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้มน้าว ชักจูงให้เกิดความสนใจ  ความไว้วางใจ  ความเชื่อถือ  และการยอมรับได้มาก  และสิ่อนำเสนอ นับเป็นอีกปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการสร้างความเชื่อมั่น การตรึงพฤติกรรมของผู้ฟังให้คล้อยตามไปกับเรื่องราวของการนำเสนอ ดังนั้นการออกแบบสื่อนำเสนอที่ดี ก็จะเป็นส่วนเสริมให้การนำเสนอนั้นน่าสนใจมีคุณค่าสูงสุด สำหรับในบทเรียนนี้จะแนะนำเทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint ประกอบด้วยเนื้อหาในการเรียนรู้  3 บทเรียน

1. ขั้นตอนและกระบวนการนำเสนอ
2. เทคนิคการสร้าง สื่อ PowerPoint ให้น่าสนใจ
3. การเป็นผู้พูด(นำเสนอ) และการบรรยายสรุปที่ดี



ความหมายของคำว่า การนำเสนอ

การนำเสนอ คือ กระบวนการ วิธีการ เพื่อให้รู้ ให้ทราบ ให้เข้าใจ ในกิจกรรมขององค์กร ของสถาบัน ของหน่วยงาน ได้อย่างชัดเจน

การนำเสนอ คือ การถ่ายทอดเนื้อหา สาระที่ผสมผสานกันระหว่าง ศิลปะการพูด กับ การแสดงข้อมูล ในรูปแบบต่างๆ ผ่านสื่อและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม



ลักษณะหรือประเภทการนำเสนอ

เป็นที่ทราบกันดีว่ามนุษย์สามารถรับรู้สาระ เรื่องราวได้ดีที่สุดผ่านระบบประสาททางตา (75%) รองลงมาก็คือทางการได้ยินผ่านหู (13%) แต่คนเราจะจำได้เพียง 20% ของสิ่งที่ได้เห็น และจำเพียง 30% ของสิ่งที่ได้ยิน แต่ถ้าหากตั้งใจรับทั้งการได้ยินและประทับใจสิ่งที่ได้เห็น มนุษย์จะจำได้สูงถึง 70% เลยทีเดียว ดังนั้น หากเราสามารถสร้างสรรกระบวนการนำเสนอที่ดี ผ่านการรับรู้ด้วยตาและหู (Audio & Visual) ก็ถือเป็นกระบวนการการถ่ายทอดหรือการสื่อสารผ่านพลังของการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ

2.การนำวิดีโอ มาใช้บนบล็อก


ปัจจุบันการหาแหล่งหรือนำวิดีโอมาใช้งานบนบล็อกสามารถดำเนินการได้ 5 รูปแบบ
Upload : ดำเนินการ Upload จากคอมพิวเตอร์หรือแหล่งเก็บ
Form YouTube : การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
Form YouTube videos : การแทรกไฟล์วิดีโอจากช่อง YouTube ที่เป็นสมาชิก
Form your phone : การแทรกไฟล์วิดีโอจากโทรศัพท์ Smartphone
Form your webcam : การแทรกไฟล์วิดีโอจากกล้องเว็บแคม


ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะ (2) การแทรกไฟล์วิดีโอจาก YouTube ทั่วไป
 
1. เลือกสร้างรายการบทความใหม่ หรือ จะแก้ไขเพิ่มเติมจากบทความเดิมที่มีอยู่ที่ตำแหน่งที่ต้องการวางไฟล์วิดีโอ
 
 
 
 
 
 
 
2. คลิกเลือกที่รายการ Form YouTube
 


3. ที่ช่อง Browse เลือกหา หรือนำ links URL รายการวิดีโอที่ได้พิมพ์วางในช่อง คลิกเพื่อนค้นหา



 

1.การวางภาพประกอบในบล็อก


ในการดำเนินการสร้างบทความหรือบทเรียนที่ดี โดยปกติจะมีการวางสื่อภาพประกอบเนื้อหา ซึ่ง Blogger สามารถดำเนินการได้โดยง่าย มีวิธีการดังนี้

1.ให้ไปที่ ตรงตำแหน่งบรรทัดที่ต้องการแทรกภาพประกอบ ให้ คลิกที่ปุ่ม แทรกภาพ

 

 2. เลือกไฟล์ โดยกดที่ปุ่ม Browse ไปที่แหล่งเก็บไฟล์ภาพ (Drive หรือ Folder หรือสื่อเก็บข้อมูลต่างๆ)  สำหรับไฟล์ภาพ ควรเป็น ตระกูล JPG GIF PNG และขนาดของความกว้างไม่เกิน 600 Pixels ดังนั้นควรตกแต่งไฟล์ภาพที่จะ Upload ขึ้น Blog ทั้งหมดให้มีขนาดกว้างไม่เกิน 600 Pixels  นอกจากจะทำให้ไฟล์ภาพมีขนาดพอดีกับหน้าบล็อกแล้ว ยังจะช่วยให้การ Upload ไฟล์รูปภาพ รวมถึงการแสดงผลหน้าเอกสารบล็อก ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 

3. เมื่อ Upload ไฟล์ภาพเรียบร้อยแล้ว กดปุ่มเพิ่มรายการที่เลือก ภาพจะปรากฏ แต่จะมีขนาดเล็กสุด  ให้นำเมาล์ไปคลิกที่รูปภาพดังกล่าว จะเกิดเมนูให้เราสามารถเลือกขนาดของภาพ คือ เล็ก / ปานกลาง / ใหญ่ / ใหญ่พิเศษ และ ขนาดเดิม ดังนัันถ้ากำหนดขนาดของภาพไว้ที่ 600 Pixels เมื่อเราเลือกขนาดเดิม จะได้ภาพพอดี  นอกจากนั้น ที่เมนูดังกล่าว ยังสามารถปรับชิดซ้าย ขวา กึ่งกลาง หรือ ลบ รูปภาพออกได้

 

4. หลังจากตกแต่งขนาด และวางตำแหน่งภาพเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่มบันทึก และ ปุ่มเผยแพร่ ตามลำดับ

ลักษณะสำคัญและประโยชน์ของบล็อก


ลักษณะสำคัญของบล็อก
1. แสดงเนื้อหาเป็นชุด ๆ และแต่ละชุดมีวันที่ ที่บันทึกเนื้อหากำกับไว้อย่างชัดเจน

2. เรียงลำดับเนื้อหาตามวันที่ โดยข้อความใหม่ล่าสุดที่บันทึกเข้าไป จะถูกแสดงอยู่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ ส่วนข้อความที่บันทึกเข้าไปก่อนหน้านั้น จะอยู่ถัดลงไปเรื่อย ๆ

3. มีการสะสมชุดเนื้อหาย้อนหลัง ผู้อ่านสามารถค้นหาตามวันเวลา (archive) หรือค้นหาจากคำสำคัญ (tag) ได้

4. อาจอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็น (comment) ที่มีต่อเนื้อหาได้

5. อาจมีการจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category) เช่น บล็อกหนึ่ง ๆอาจไม่ได้มีเนื้อหาเพียงเรื่องเดียว เพราะเจ้าของบล็อกมีความสนใจในหลาย ๆ เรื่อง เพื่อให้สะดวกในการอ่าน จึงทำการแยกเป็นหลายหมวดหมู่ไว้ ตัวอย่างเช่น บันทึกประจำวัน, แนะนำเว็บ, วิเคราะห์ข่าว, วิจารณ์ภาพยนตร์ เป็นต้น

6. อาจมี RSS Feed เพื่อให้สะดวกในการติดตามการอัพเดทข้อมูลของบล็อกนั้น ๆและเพื่อความสะดวกในการอ่านบล็อกโดยที่ไม่ต้องเข้ามาอ่านที่บล็อกจริง ๆ

 

ประโยชน์ของบล็อก

ประโยชน์ของบล็อกมีมากมายหลายประการ อันได้แก่

1.เป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์

ถือได้ว่าบล็อกเป็นเว็บที่เจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้คนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การวางกลยุทธ์การตลาดในแวดวงธุรกิจไม่อาจพึ่งพาแค่ แผ่นพับ ใบปลิว หรือการลงโฆษณาตามหนังสือพิมพ์ การโฆษณาผ่านวิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งช่องทางที่กล่าวนับวันยิ่งมีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สูง การใช้บล็อกเพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเป็นอีกวิธีการที่มีค่าการลงทุนที่ต่ำ แต่สามารถส่งผลทางการตลาดที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ในภาครัฐมีหลายแห่งที่ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือ ช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานอีกทางหนึ่งด้วย

2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้ เฉพาะเรื่อง

ปัจจุบันข่าวสารต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ล้าสมัย หรือไม่สามารถออกได้ทันตามความต้องการของผู้ที่สนใจ การใช้บล็อกเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการให้ข้อมูล ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าการสร้างบล็อก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และสามารถเขียนหรือปรับปรุงแก้ไขข้อความที่เขียนได้อย่างรวดเร็วง่ายดาย จึงมีผู้ที่มีความรู้หลายต่อหลายท่านใช้บล็อกเป็นที่เผยแพร่ความรู้ เช่น

 http://www.blognone.com/ (บล็อกที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ 

 http://www.oknation.net/blog/black (บล็อกวิเคราะห์ข่าวของคุณสุทธิชัย หยุ่น)

3. เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ปัจจุบันบล็อกถือเป็นช่องทางที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อีกทางหนึ่ง เพราะบล็อกส่วนใหญ่ มักจะอนุญาตให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นของตนที่มีต่อข้อความในบล็อกนั้น ๆ ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการให้คำแนะนำ หรือจะเป็นการแสดงความเห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยกับข้อความในบล็อกนั้น ๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกสามารถทำให้เกิดเป็นสังคมย่อย ๆ ขึ้นมา

4. เป็นเวทีการเรียนรู้

นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลเฉพาะเรื่องแล้ว สถานศึกษา หรือครู และบุคลากรทางการศึกษา ยังใช้บล็อก เป็นอีกกลไก หรือเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เนื้อหา เพิ่มเติมจากหลักสูตร หรือเป้นเวทีสำหรับให้ลูกศิษย์เข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือตอบคำถามต่างๆ

ในโลกของสังคมข่าวสารปัจจุบัน บล็อก เป็นอีกปัจจัยสำคัญของ Social network ที่มีอิทธิพลต่อวงการธุรกิจ วงการข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งแวดวงการศึกษา จะเห็นได้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของบล็อกประเภทต่างๆไม่ว่าจะเป็นบล็อกส่วนตัว ไปจนถึงบล็อกขององค์กร/ธุรกิจ จะมีอัตราที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเกิดของ สังคมแห่งการแบ่งปัน ที่มีทั้งผู้ต้องการสาระเนื้อหา ผู้ที่เผยแพร่เนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวหลากหลายประเภทหรือหลากหลายมุมมอง หรือชื่นชมผลงานส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ชีวิตต่างๆ ผลงานรูปภาพ งานกราฟิก งานมัลติมีเดียต่างๆ ไปจนถึงบล็อกขององค์กร / ธุรกิจ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์

ความคิดเห็นจาก Facebook