วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แนวทางการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนรู้





ในการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขึ้นใช้เองโดยครูผู้สอนนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะครู ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ถึงความยากง่าย ความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่การที่จะผลิตสื่อ ให้มีประสิทธิภาพ ต่อการเรียนรู้นั้นจะต้องมีกระบวนการผลิตที่มีขั้นตอนและมีระบบ เพื่อให้สื่อที่ผลิตนั้นมีคุณค่าต่อการศึกษาสูงสุด ดังนั้นครูผู้สอนจึงควรพิจารณาปัจจัยเพื่อการผลิตและพัฒนาสื่อดังต่อไปนี้


ปัจจัยทางด้านเนื้อหา

  1. สาระเนื้อหามีความซับซ้อน ผู้เรียนมีความเข้าใจแตกต่างกัน
  2. สาระเนื้อหาไม่สามารถอธิบายให้เกิดรูปธรรมได้
  3. สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลานาน
  4. สาระเนื้อหาวิชานั้นมีขั้นตอน มีกระบวนการที่ใช้เวลารวดเร็วเกินไป
  5. สาระเนื้อหาวิชานั้นต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนที่ผู้เรียนเมื่อเรียนรู้แล้ว มีความสามารถอะไรบ้าง


ปัจจัยทางด้านการผลิต

  1. เลือกประเภทหรือรูปแบบของสื่อที่จะผลิต : อาทิ ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิดีทัศน์
  2. ความพร้อมด้านสาระเนื้อหา
  3. ความพร้อมด้านเครื่องมือ และเทคโนโลยี
  4. ความพร้อมด้านผู้ผลิต/พัฒนา : อาทิ ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ นักวัดผล ช่างเทคนิค
  5. ความพร้อมด้านแผนการผลิต : ความเหมาะสมต่อวัยของการเรียนรู้ ลำดับขั้นตอนการสร้าง กระบวนการถ่ายทอดเนื้อหา การตรึงพฤติกรรม กิจกรรมการเรียนรู้
  6. ความพร้อมด้านงบประมาณ


ปัจจัยด้านการนำไปใช้งาน

  1. ความพร้อมของเครื่องมือ และเทคโนโลยีในการเรียนรู้
    อุปกรณ์ เครื่องมือที่นำมาใช้ประกอบการเรียนรู้
  2. ความพร้อมของสภาพแวดล้อม
    เสียง แสง
  3. ความพร้อมของผู้เรียนและครูผู้สอน


ปัจจัยทางด้านการเรียนรู้

  1. ลักษณะเฉพาะการเรียนรู้ของตัวสื่อ
    เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือควบคุมพฤติกรรม/ลำดับเนื้อหาโดยครูผู้สอน
  2. วิธีการใช้งาน
    ความ ยาก ง่าย การใช้ประกอบกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่นของการใช้สื่อ
  3. กระบวนการเรียนรู้ การเข้าถึงและการถ่ายทอดเนื้อหา
  4. การซึมซับความรู้
  5. การตรึงพฤติกรรมต่อการเรียนรู้
นอกจากนี้ ครูผู้สอนควรจะได้ประเมินการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ว่า มีข้อบกพร่อง หรือส่วนใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข เพื่อใจได้ดำเนินการวางแผนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นจาก Facebook